ผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์เรียกร้องความยุติธรรมต่อผู้ประสบภัยเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย

บ้านใหม่ เมืองสนามไซย แขวงอัตตะปือ 2018 (MyMekong.org)

28 เมษายน 2562 เจนีวา/กรุงเทพฯ  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาล ภาคธุรกิจและธนาคารที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องเร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้รอดชีวิตจากเขื่อนแตกในประเทศลาวเมื่อสองปีที่ผ่านมา 

แถลงการณ์ระบุว่า ชาวบ้านหลายพันคนต้องสูญเสยทุกอย่างและต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนและไร้อนาคต รัฐบาล บริษัทและธนาคารที่เกี่ยวข้องได้ผลประโยชน์และกำไรจากโครการเขื่อนไฟฟ้านั้น แต่ชาวบ้านต้องสูญเสียทุกอย่างและไม่ได้รับการช่วยเหลือตามที่สัญญาไว้

เหตุการณ์สันเขื่อนย่อย Dของเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย ที่เมืองสนามไซย แขวงอัตตะปือของลาว แตกเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ทำให้น้ำท่วมและคร่าชีวิตของชาวบ้านกว่า 71 คนและอีกหลายพันคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย 

“ชาวบ้านและชนพื้นที่เมืองยังไม่ได้รับค่าชดเชยที่เพียงพอและยังต้องอยู่ในที่พักชั่วคราวที่ไม่ได้มาตรฐาน มีความเป็นส่วนตัวน้อย เข้าถึงอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค สุขอนามัย และที่ดิน อย่างไม่เพียงพอ เราได้รับรายงานว่ามี่กระบวนการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการโยกย้ายหรือการช่วยเหลือตามแผนที่วางไว้  ผู้เชี่ยวชาญกล่าว 

รัฐบาลลาว อ้างว่ากำลังให้ความช่วยเหลือชาวบ้านอย่างถึงที่สุด แต่มันดูขัดแย้งกับรายงานต่างๆที่ออกมาว่า ชาวบ้านยังอยู่ภาวะทุกข์ยากลำบาก 

ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติระบุว่า ภาคธุรกิจกำลังเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบตามหลักการเคารพสิทธิมนุษยชนภายใน หลัการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

นับตั้งแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจนี้ พวกเขาควรจะต้องปรึกษาผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องและแก้ไขเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาะแก่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ ในแถลงการณ์เน้นย้ำ 

จวบจนถึงปัจจุบัน รายงานการตรวจสอบสาเหตุของเขื่อนแตกที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการของรัฐบาลยังไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างใด และเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา สื่อของรัฐได้เสนอข้อความของทางการลาวว่า ผลการตรวจสอบว่า การตัดสินใจและออกแบบเขื่อนเป็นสาเหตุ และบริษัท SK Engineering and Construction ของเกาหลีใต้ซึ่งรับผิดชอบด้านการก่อสร้างและวิศวกรรมก็ได้ออกมาตอบโตข้อสรุปรายงานดังกล่าว 

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ ได้ส่งเอกสารถึงบริษัท SK Engineering and Construction และบริษัท ราชกรุ๊ป ในฐานะผู้ให้คำคำปรึกษาด้านการก่อสร้าง และทั้งสองบริษัทถือหุ้นของบริษัทเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย (PNPC) และมีบริษัท Korea Western Power Company ของเกาหลีใต้และบริษัท Lao Holding State Enterprise  

นอกจากนี้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยังได้ส่งจดหมายถึงธนาคารไทย 4 แห่ง ที่ให้เงินกู้จำนวนน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาติ และธนาคารส่งอก-นำเข้า แห่งประเทศไทย และส่งถึงธนาคารส่งออก-นำเข้าของเกาหลีใต้ ที่ให้เงินกู้แก่รัฐบาลลาวกว่า 80  ล้านเหรียญสหรัฐแก่โครงการนี้เช่นกัน 

ผู้เชี่ยวชาญ ได้ส่งเอกสารโดยตรงไปยังรัฐบาลลาว รัฐบาลเกาหลีใต้และรัฐบาลไทย 

แถลงการณ์ยังระบุว่า นาย ฟิลิป ออสตัน ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการขจัดความยากจน ได้เดินทางลงพื้นที่เมื่อปี 2562 พูดคุยกับชาวบ้านผู้ประสบภัยที่กำลังอยู่ในภาวะสภาพจิตใจตกต่ำ ต้องอยู่ร่วมกันอย่างแออัด การสร้างที่พักชั่วคราวที่จำกัด ภาวะหนี้สินที่เพิ่มข้นและการเข้าไม่ถึงที่ดิน  

ในแถลงการณ์สรุปว่า “กล่าวได้ว่า มีการแก้ไขปัญหาเพียงเล็กน้อย ถึงแม้จะมีการรับรองและงบประมาณบางส่วนจากบริษัทผู้ลงทุนที่เกี่ยวข้องก็ตาม

ที่มา https://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/DisplayNews.aspx?NewsID=25839&LangID=E

More to explorer

จดหมายเรียกร้องธนาคารผู้ให้สินเชื่อเขื่อนไซยะบุรี ติดตามบริษัทให้เปิดเผยความคืบหน้ารายงานมาตรการลดผลกระทบด้านการประมง การฟื้นฟูชีวิตและเศรษฐกิจของผู้อพยพโยกย้ายและแผนบรรเทาภาวะฉุกเฉินจากการบริหารจัดการเขื่อนไซยะบุรี

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัดยื่นจดหมายถึง รมว.พลังงาน-ร้องทบทวนการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศในแผนพีดีพี 2024 ชี้เพิ่มภาระต้นทุนค่าไฟ ย้ำปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรง