คำแถลงของโฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ว่าด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวกับจีนในปัญหาน้ำแม่น้ำโขง

สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยทราบข่าวมาว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สื่อมวลชนบางสื่อได้รายงานข่าวเกี่ยวกับปัญหาน้ำแม่น้ำโขง ด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์จีนอันเป็นเท็จ ซึ่งข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น ไม่มีหลักฐานและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยมองข้ามความพยายามของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึงจีนและไทยในการผลักดันความร่วมมือในด้านทรัพยากรน้ำแม่น้ำโขง เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับประชาชนในภูมิภาค ทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน ซึ่งได้ทำลายบรรยากาศความร่วมมืออันดีในอนุภูมิภาคฯ

สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยขอแจงข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

1. เกี่ยวกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมแม่น้ำโขง 

โดยแม่น้ำโขงได้ผูกเชื่อมจีน ไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม 6 ประเทศอย่างแน่นแฟ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงธรรมชาติและมนุษย์ในหลายมิติ จีนได้ทุ่มกำลังในการผลักดันการพัฒนาแบบสีเขียวไร้มลภาวะ “การอนุรักษ์ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมเสมือนการปกป้องดูแลลูกตาเราเอง การปฏิบัติต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเสมือนการปฏิบัติต่อชีวิตเราเช่นกัน” 

และเข้าร่วมความร่วมมือกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงด้วยแนวความคิดดังกล่าว ทั้ง 6 ประเทศได้สร้างศูนย์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนิน “แผนโครงการแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงสีเขียวไร้มลภาวะ” และ “แผนปฏิบัติการความร่วมมือด่านทรัพยากรน้ำระยะ 5 ปี” 

ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ทั้ง 6 ประเทศได้ดำเนินการสร้างและการลงทุน การจัดหาทุนในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่ยั่งยืนอย่างแข็งขัน

อย่างโครงการทางรถไฟจีน-ลาว ก็ได้ยึดถือการสร้าง “ทางสีเขียว” เป็นเป้าหมาย ยืนหยัดให้งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับโครงการก่อสร้างมีการออกแบบ ก่อสร้าง และตรวจรับ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน ซึ่งได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและประชาชนของลาว รัฐบาล 6 ประเทศได้ใช้ความพยายามร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศและเอ็นจีโออย่างต่อเนื่องในการกระชับความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี และการแลกเปลี่ยนบุคลากรและข้อมุลข่าวสาร ผลักดันให้ภูมิภาคแม่น้ำโขงบรรลุซึ่งการอนุรักษ์ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. เกี่ยวกับข่าวที่เรียกว่า “การระเบิดแก่งหิน” 

งานเตรียมล่วงหน้าโคงการปรับปรุงร่องน้ำแม่น้ำโขงระยะที่สอง ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) ได้เริ่มดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2560 ตามความเห็นพ้องต้องกันของรัฐบาลจีน ไทย พม่า ลาว 4 ประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญของทั้ง 4 ประเทศได้ดำเนินการประเมินสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสังคมของโครงการภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติทางภูมิศาสตร์ธรรมชาติแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง โดยงานเตรียมล่วงหน้าได้เชิญฝ่ายต่างๆ เข้าร่วม รวมทั้งเอ็นจีโอด้วย ได้รับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ อย่างเต็มที่ จนถึงปัจจุบันนี้ ทั้ง 4 ประเทศยังไม่มีแผนโครงการใดๆ จึงไม่มีสิ่งที่เรียกว่าปฏิบัติการ “ระเบิดแก่งหิน” ใดๆ เลย ในตอนนี้

3. เกี่ยวกับบทบาทของสถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันได 

การเกิดภัยแล้งและภัยน้ำท่วมบ่อยในลุ่มแม่น้ำโขงในปัจจุบันนี้ เป็นปรากฏการณ์อากาศผิดปกติในขอบข่ายทั่วโลก การที่ฝ่ายจีนสร้างเขื่อนแบบขั้นบันไดตามแม่น้ำล้านช้าง เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ สถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันไดนั้นปล่อยน้ำในหน้าแล้ง กักเก็บน้ำในหน้าฝน ซึ่งจะเป็นการ “ปรับลดน้ำท่วม เพิ่มน้ำหน้าแล้ง” ต่อแม่น้ำโขง 

หลังการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำที่ไหลออกนอกประเทศของแม่น้ำล้านช้างได้เพิ่ม 70% ในหน้าแล้ง และลดลง 30% ในหน้าฝนเมื่อเทียบกับสภาพแบบธรรมชาติเดิม 

ซึ่งได้ลดค่าเสียหายทางเศรษฐกิจของมวลประชาชนสองฟากฝั่งอันเกิดจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงผิดปกติ 

ปัจจุบันนี้ น้ำแม่น้ำโขงช่วงจากเชียงแสนถึงเวียงจันทร์ จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 30%-50% และระดับน้ำสูงขึ้น 0.6-1.9 เมตรในหน้าแล้ง และจะมีปริมาณน้ำลดน้อยลง 10%-20% ระดับน้ำลดลง 0.4-1.3 เมตรในหน้าฝน 

ผู้ประกอบกิจการเดินเรือขนส่งสองฟากฝั่ง สามารถเดินเรือได้ในหน้าแล้งเป็นครั้งแรกในแม่น้ำโขงตอนกลางและตอนบนที่มีน้ำตื้นแก่งหินเยอะภายใต้บทบาท “เพิ่มน้ำหน้าแล้ง” ซึ่งได้อำนวยรูปแบบการขนส่งคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นและเป็นสีเขียวปราศจากมลภาวะแก่ประชาชนสองฟากฝั่ง

ช่วงพ.ศ. 2556 และ พ.ศ.2559 แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงประสบภัยแล้งอย่างร้ายแรงในทั่วลุ่มแม่น้ำ จีนได้อดทนดำเนินการเพิ่มน้ำฉุกเฉินต่อแม่น้ำโขงตอนล่าง ช่วยประชาชน 60 ล้านคนตามแม่น้ำโขงตอนล่างได้ผ่านพ้นภัยแล้งอย่างปลอดภัย ทั้งๆ ที่ตนเองก็ประสบภัยแล้งอย่างลำบากมาก
เว็บไซต์ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงได้รายงานบทความเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยชี้ว่า “ความแห้งแล้งของแม่น้ำโขงไม่ได้เกิดจากสถานีกำเนิดไฟฟ้าที่ตอนบนของแม่น้ำ ตรงกันข้าม การปรับลดน้ำท่วม เพิ่มน้ำหน้าแล้งของเขื่อนแม่น้ำตอนบน ได้มีบทบาทสำคัญในขณะที่เกิดความแห้งแล้งภายใต้เงื่อนไขภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรงสุดขั้ว”

4. เกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลอุทกวิทยา (Hydrological information) 

ในฐานะประเทศแม่น้ำโขงตอนบน ฝ่ายจีนให้ความสำคัญอย่างสูงแต่ต้นจนปลายต่อความห่วงใยและความต้องการของประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยได้รักษาการติดต่อสื่อสารกับประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างอย่างแน่นแฟ้น และทุ่มกำลังดำเนินความร่วมมือในด้านการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยากับประเทศที่เกี่ยวข้อง 

ฝ่ายจีนเริ่มให้ข้อมูลอุทกวิทยาแม่น้ำล้านช้างในหน้าฝนแก่ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม 4 ประเทศผ่านคณะกรรมการแม่น้ำโขงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยแจ้งแผนการปรับน้ำเขื่อนล่วงหน้า ซึ่งทางคณะกรรมการแม่น้ำโขงและประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างได้แสดงความขอบคุณหลายๆ ครั้ง หน่วยทำงานผสมความร่วมมือทางทรัพยากรน้ำแม่น้ำลานช้าง-แม่น้ำโขง ได้เปิดการประชุมวิสามัญเมื่อต้นเดือนมิถุนายนปีนี้ ฝ่ายจีนได้ให้ข้อมูลอุทกวิทยาหน้าฝนของแม่น้ำลานช้างแก่ประเทศภาคีสมาชิกแม่น้ำโขงตอนล่างความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง—แม่น้ำโขงโดยตรง ช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูลอุทกวิทยาระหว่างรัฐบาลของฝ่ายจีนกับประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง เป็นช่องทางที่คล่องตัวและโปร่งใส

สิ่งที่ต้องชี้ให้เห็นเป็นพิเศษคือ ผลการประเมินของคณะกรรมการแม่น้ำโขงเมื่อปี พ.ศ. 2559 ปรากฏว่า ยอดรวมปริมาณน้ำในเขื่อนของประเทศต่างๆ ตามแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง มีมากกว่ายอดปริมาณน้ำในเขื่อนขั้นบันไดของแม่น้ำล้านช้างสายหลักของฝ่ายจีน ปริมาณน้ำแม่น้ำล้านช้างที่ไหลออกนอกประเทศจีน เป็นเพียง 13.5% ของปริมาณน้ำแม่น้ำโขงตอนปากน้ำออกทะเล

“ดื่มน้ำแม่น้ำสายเดียวกัน ร่วมชะตากรรมแบ่งปัน” การส่งเสริมการพัฒนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างปราศจากมลภาวะ ประสานงานกันและยั่งยืนนั้น ต้องการความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความเข้าใจกันและกัน การสนับสนุนซึ่งกันและกัน การกระชับความร่วมมือกัน การคำนึงถึงความห่วงใยของกันและกัน การบูรณากันในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ให้ดี ฝ่ายจีนยินดีที่จะกระชับความร่วมมือต่อไปกับประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ผ่านกลไก ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) คณะกรรมการแม่น้ำโขง (MRC) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจแม่น้ำโขง เพื่อที่จะทำให้แม่น้ำโขงกลายเป็นแม่น้ำแห่งมิตรภาพ แม่น้ำแห่งความร่วมมือ และแม่น้ำแห่งความเจริญรุ่งเรือง

ที่มา https://www.facebook.com/NewSilkRoadMag

More to explorer

จดหมายเรียกร้องธนาคารผู้ให้สินเชื่อเขื่อนไซยะบุรี ติดตามบริษัทให้เปิดเผยความคืบหน้ารายงานมาตรการลดผลกระทบด้านการประมง การฟื้นฟูชีวิตและเศรษฐกิจของผู้อพยพโยกย้ายและแผนบรรเทาภาวะฉุกเฉินจากการบริหารจัดการเขื่อนไซยะบุรี

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัดยื่นจดหมายถึง รมว.พลังงาน-ร้องทบทวนการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศในแผนพีดีพี 2024 ชี้เพิ่มภาระต้นทุนค่าไฟ ย้ำปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรง