ลาวชี้ชัด ไม่ชดเชยน้ำท่วมจากเขื่อนระบายน้ำ

ລັດແຈ້ງ ຈະບໍ່ມີການຮັບຜິດຊອບຈາກເຂື່ອນທີ່ປ່ອຍນ້ຳຖ້ວມ.

ລັດແຈ້ງ ຈະບໍ່ມີການຮັບຜິດຊອບຈາກເຂື່ອນທີ່ປ່ອຍນ້ຳຖ້ວມເຂດລຸ່ມ ເນື່ອງຈາກເປັນເຫດຈຳເປັນ. ຈາກປະເດັ່ນທີ່ສັງຄົມຕັ້ງຄຳຖາມມາໂດຍຕະຫຼອດ ກ່ຽວກັບການຮັບຜິດຊອບຕໍ່ເຂດລຸ່ມທີ່ນ້ຳຖ້ວມເນື່ອງຈາກການປ່ອຍເຂື່ອນ, ຫຼ້າສຸດທ່ານຮອງນາຍົກລະບຸ ບັນດາເຂື່ອນທີ່ປ່ອຍນ້ຳຖ້ວມເຂດລຸ່ມເຂື່ອນ ຈະບໍ່ໄດ້ຮັບຜິດຊອບ ເນື່ອງຈາກມີຄວາມຈຳເປັນໃນການຮັກສາລະດັບນ້ຳໃນເຂື່ອນ, ແຕ່ໃນອະນາຄົດຕ້ອງມີການບໍລິຫານຈັດການນ້ຳໃຫ້ຊັດເຈນກ່ອນຮອດດູຝົນ.ທ່ານສາມາດຮັບຊົມວິດີໂອຂ່າວຂອງພວກເຮົາໄດ້ອີກໜື່ງຊ່ອງທາງທີ່https://youtu.be/VFnG6K6ngmg#ຂ່າວເສດຖະກິດແລະການຄ້າ

โพสต์โดย ຂ່າວເສດຖະກິດ-ການຄ້າ Lao Economic Daily เมื่อ วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2018

เพจข่าวเศรษฐกิจลาว Lao Economic Daily โพสเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 มีเนื้อหาว่า รัฐบาลประกาศ “ไม่มีการจ่ายค่าชดเชย” จากเขื่อนไฟฟ้าที่ปล่อยน้ำเนื่องจากเป็นเหตุจำเป็น

ข่าวระบุว่า หลังจากมีคำถามจากสังคมออนไลน์เกี่ยวกับค่าชดเชยจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่ระบายน้ำลงมา ดร.สอนไซย สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทุกเขื่อนไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยให้หมู่บ้านที่อยู่ท้ายน้ำทางตอนล่างที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีความจำเป็นจะต้องปล่อยน้ำเนื่องจากต้องรักษาระดับน้ำในเขื่อน แต่ในอนาคตต้องมีแผนการจัดการน้ำก่อนฤดูฝนจะมา

ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2018 ดร.สอนไซย สีพันดอน ประธานคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติฉุกเฉิน ได้ตอบคำถาสื่อมวลชนที่ถามว่า ทุกเขื่อนปล่อยน้ำและทำให้เกิดน้ำท่วมแล้วจะมีความรับผิดชอบอย่างไร โดยรองนายกรัฐมนตรีลาวตอบว่าทุกเขื่อนที่มีการระบายน้ำไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ เพราะว่ามีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้เขื่อนแตก โดยธรรมชาติแล้ว เขื่อนและอ่างเก็บน้ำช่วยลดความแรงของการไหลของน้ำ อย่างไรก็ตามปีนี้มีปริมาณฝนตกมากและยาวนาน จนทำให้มีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากในแม่น้ำต่างๆ และในอ่างเก็บน้ำ จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกมา

ข่าวระบุอีกว่า รองนายกยังกล่าวว่าในอนาคต เขื่อนแต่ละแห่งต้องมีแผนการจัดการน้ำ เช่น ต้องคำนวนปริมาณน้ำสำรองในเขื่อนแต่ละปี เขื่อนต่างๆ ผลิตไฟฟ้าขายนำรายได้มาให้รัฐบาลเพื่อการพัฒนาประเทศ ในยามเกิดภัยพิบัติ รัฐบาลก็จะใช้เงินเหล่านี้ โดยเฉพาะในปีนี้ พื้นทีเกษตรกรรมได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเสียหายมาก และชาวบ้านจำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวและพืชผัก ดังนั้นรัฐบาลจึงจะเตรียมการที่จะซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว ในอนาคตในพื้นที่เสี่ยงภัยตอนท้ายน้ำของเขื่อนต้องเปลี่ยนแผนการผลิตใหม่ โดยจะต้องเปลี่ยนไปทำการผลิตช่วงหน้าแล้งแทน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต้องมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อเตรียมการและให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

ต้นฉบับจาก https://www.facebook.com/Laoedaily/videos/vb.444383065740586/285642528709230/?type=2&theater

More to explorer