ทำไมลาวต้องดึงดันสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงทั้งที่ไม่จำเป็น?

สำนักข่าว DW รายงานเมื่อเร็วๆนี้ว่า ขณะที่เศรษฐกิจของไทยกำลังดำดิ่งจากภาวะโรคระบาดโควิท-19 จนทำให้ความต้องการไฟฟ้าลดลง โดยหน่วยงานรัฐประมาณว่าพลังงานสำรองล้นเกิน 50 % แม้ว่าพลังงานสำรองจะมีมากเกิน แต่เขื่อนไฟฟ้ามากมายก็กำลังก่อสร้างและอยู่ในแผนอีกมากมายในลาว โดยผู้ให้บริการไฟฟ้าอันดับต้น ๆ ของไทย นักวิเคราะห์กล่าวว่า หลายโครงการไม่ได้ผลักดันโดยความต้องการไฟฟ้าที่แท้จริง แต่โดยผู้มีส่วนค้ากำไรจากภาคพลังงาน รวมถึงรัฐบาลลาวภายใต้การผลักดันให้เป็น “แบตเตอรี่ของเอเชีย”

“ทั้ง ๆ ที่พลังงานล้นเกิน ทำไมเราต้องสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้น โดยไม่มีการกำกับดูแล แต่นี่คงไม่ใช่ปัญหาในประเทศที่มีกลไกการตรวจสอบที่ชัดเจน และมีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณะสมบัติที่เข้มแข็ง” เพียรพร ดีเทศน์ ผอ.ฝ่ายรณรงค์ องค์กรแม่น้ำสากล กล่าว

สายส่งไฟฟ้าจากเขื่อนในลาว-ไทย

เขื่อนทำให้เงินหมุนเวียน

บริษัทก่อสร้างของไทยหลายแห่ง เป็นผู้เล่นสำคัญในการลงทุนและพัฒนาเขื่อนหลายแห่งในลาว เขื่อนไซยะบุรีเป็นเขื่อนแรกที่สร้างบนแม่น้ำโขงตอนล่าง ในลาว แต่ทั้งบริษัทก่อสร้างและเงินทุนทั้งหมดมาจากภาคเอกชนของไทย สำหรับบริษัทก่อสร้างและสถาบันการเงินของไทยนั้น การลงทุนโครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขงที่มียาวยาวกว่า 2390 กิโลเมตร ที่ไหลจากจีน ผ่านลาว พม่า ไทย กัมพูชา ก่อนจะลงทะเลจีนใต้ที่เวียดนามถือเป็นธุรกิจที่มีกำไรสูงสุด เขื่อนไซยะบุรีที่มีการลงทุน 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เสร็จเมื่อปี 2019 คาดว่าจะทำกำไรปีละ 466 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับบริษัทไซยะบุรีพาวเวอร์จำกัด(Xayaburi Power Company Limited) ตลอดสัญญาสัมปทาน 31 ปีกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย .สามารถคิดต้นทุนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากผู้บริโภคด้วยระบบ “ต้นทุนบวกภาษี” ของประเทศไทย

“นี่เป็นแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องในระบบการคาดการณ์ความต้องการพลังงานให้สูงเกินความเป็นจริง” ในบทความด้านสิ่งแวดล้อมของ Danny Marks และ Jun Zhang เขียนไว้เมื่อปี 2019

แปลงผักริมโขง อ.เชียงคาน จ.เลย

เขื่อนที่ไม่มีความต้องการ

ลาวได้สร้างเขื่อนมากกว่า 50 แห่งในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าการสร้างเขื่อนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสวนทางกับความต้องการไฟฟ้าของประเทศ ขณะนี้แม่น้ำและลำห้วยต่างๆทั่วประเทศของลาวก็มีเขื่อนกว่า 50 แห่งถูกสร้างไว้หมดแล้ว คอร์ทนี่ เวทเธอบี จากสติมป์สัน เซ็นเตอร์ กล่าวว่า ประเทศไทยและมณฑลยูนนานของจีนต่างก็มีพลังงานสำรองล้นเกินมาหลายปีแล้ว ซึ่งส่งผลให้มีการซื้อไฟฟ้าจากลาวเพิ่มขึ้นในระยะสั้น ขณะที่ราคาของพลังงานแสงอาทิตย์กลับมีต้นทุนต่ำและราคาที่ถูกลงมากลงกว่าเขื่อนไฟฟ้าใหม่หลายโครงการ เราเห็นว่า มีการผลักดันโครงการเขื่อนแห่งใหม่หลายแห่งในลาว แม้จะไม่มีผู้ซื้อไฟฟ้าที่ชัดเจนก็ตาม ราวกับว่าพวกเขาเสพติดเทคโนโลยีและการพัฒนาแบบเดิม”

ไทยเสียผลประโยชน์?

กรณีเขื่อนสานะคามที่มีผู้พัฒนาโครงการโดยบริษัทจีนที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างห่างจากชายแดนไทย-ลาว 2 กิโลเมตร สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไทย ออกมาเตือนว่า ไทยอาจจะไม่ซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนสานะคาม โดยอ้างถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การคัดค้านในไทยก็อาจจะทำให้โครงการต้องจบลง ถึงแม้ว่า ผู้ลงทุนหนึ่งคือหน่วยงานด้านพลังงานของไทยก็ตาม ผู้ลงทุนจะยังไม่แสดงตัวจนกว่าจะมีการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ไม่สำคัญว่าบริษัทก่อสร้างนั้นจะสนิทสนมกับรัฐบาลลาวเพื่อให้เกิดการเดินหน้าโครงการต่อไป หลักการง่ายคือ เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก มีขนาดใหญ่มาก จะสร้างไปโดยไม่มีตลาดรองรับไม่ได้ ” ไบรอัน เอียเลอร์ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สติมป์สัน เซ็นเตอร์ กล่าว

source https://www.dw.com/en/why-is-laos-building-mekong-dams-it-doesnt-need/a-56231448?utm_source=Mekong+Eye&utm_campaign=0d6fbac6c4-EMAIL_CAMPAIGN_2018_01_10_COPY_01&utm_medium=email&utm_term=0_5d4083d243-0d6fbac6c4-380879541

More to explorer

จดหมายเรียกร้องธนาคารผู้ให้สินเชื่อเขื่อนไซยะบุรี ติดตามบริษัทให้เปิดเผยความคืบหน้ารายงานมาตรการลดผลกระทบด้านการประมง การฟื้นฟูชีวิตและเศรษฐกิจของผู้อพยพโยกย้ายและแผนบรรเทาภาวะฉุกเฉินจากการบริหารจัดการเขื่อนไซยะบุรี

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัดยื่นจดหมายถึง รมว.พลังงาน-ร้องทบทวนการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศในแผนพีดีพี 2024 ชี้เพิ่มภาระต้นทุนค่าไฟ ย้ำปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรง