ข้อถกเถียงอีกด้านของการพัฒนาบนแม่น้ำโขง

นายฟาม ตวน ฟาน CEO สำนักงานเลขาธิการแม่น้ำโขง ได้ลงข้อคิดเห็นหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ว่า แผนการพัฒนาแม่น้ำโขงของจีนได้นำไปสู่การถกเถียงกันเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม ในประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง แผนการเดินเรือเพื่อการพานิชย์ได้สร้างความสนใจให้กับนักสิ่งแวดล้อม นักเคลื่อนไหว และสื่อต่างๆ มากมาย ซึ่งมีรายงานความคืบหน้าของการเตรียมการปรับรุงร่องน้ำโดยจีนในประเทศไทย

สำนักข่าวบางกอกโพสต์ก็ได้รายงานว่า แผนการระเบิดแก่งของจีนจะทำลายแม่น้ำโขง และเมื่อเร็วๆนี้ก็มีการอ้างว่า “สภาพแวดล้อมจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิม”  จึงอยากจะนำเสนออีกด้านหนึ่งของสถานการณ์เพื่อสร้างมุมมองให้เกิดความสมดุลแกผู้อ่านบางกอกโพสต์และสื่ออื่น ๆ

ผมเชื่อว่าจะไม่มีคำถามที่จะต้องเลือกระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดลอ้ม ในฐานคณะกรรมการแม่น้ำโขง เราเชื่อมั่นต่อคำขวัญที่ว่า “เน้นความจำเป็นและสร้างความสมดุล” ซึ่งแถลงโดยนายกรัฐมนตรี ของ 4 ประเทศ ตั้งแต่การประชุม MCR Summit ในปี 2010 นั่นคือ  การพัฒนาต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายและต้องเคารพถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม

แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำที่มีการพัฒนาน้อยและถูกทำลายน้อยที่สุดในโลก แม่น้ำถูกได้เพื่อการเดินเรือสินค้า การคมนาคมเป็นอย่างมากในบริเวณปากแม่น้ำอย่างไรก็ตาม การเดินเรือในแม่น้ำตอนบนถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง  แม่น้ำโขงตอนบนเต็มไปด้วยหิน แก่งและหาดทราย  ที่ทำให้การเดินเรือลำบาก  

ในความจริงแล้ว ประสบการณ์และทักษะของคนขับเรือยังสามาารถที่เดินเรือได้ตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่เป็นเรือขนาด 50-60 ตัน และถูกออกแบบพิเศษให้สามารถที่จะล่องผ่านแก่งหินได้  เรือสินค้าขนาดใหญ่ไม่สามารถที่จะล่องได้อย่างปลอดภัยในสภาพธรรมชาติของแม่น้ำ

การปรับปรุงร่องน้ำรวมถึงการเอาแก่งและหาดดอนบางส่วนออก จำเป็นต้องมีการสร้างไดร์และการขุดลอกบางส่วน 

การสรำวจและศึกษาวิจัย เช่น การศึกษารูปร่างสัณฐานวิทยาระดับน้ำและการคาดการณ์และการศึกษาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์) ได้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแล้ว และเป็นไปตามมาตรฐานของการศึกษาผลกระทบทางสังแวดล้อม

นิยามคำว่า “ระเบิดแก่ง” ซึ่งมีการใช้กันในเอกสารของการปรับปรุงร่องน้ำและรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมดูเหมือนจะมีการเปรียบเทียบถึงผลกระทบด้านลบอย่างร้ายแรง  ผู้อ่านเข้าใจว่าจะต้องมีการใช้ระเบิดจำนวนมากในการที่จะเอาแก่งออก เพื่อเปิดร่องน้ำให้เรือล่องได้อย่างปลอดภัย  ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย ความเข้าใจผิดของคำนิยามที่แตกต่างกันออกไปนั้น นำไปสู่ความไม่รู้เรื่องการพัฒนาการขนส่งทางเรือซึ่งเป็นการขนส่งสินค้าเดียวที่ง่ายและเป็นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ความเข้าใจผิดดังกล่าวยังทำให้ภาครัฐกลับไปใช้การขนส่งทางถนน ซึ่งเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดมลพิษมากที่สุดในการขนส่งจากจุด A ไปจุด B และมีการคัดค้านน้อยหรือแทบจะไม่มีการคัดค้านเลยจากนักสิ่งแวดล้อม

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเดินเรือได้พิสูจน์จากกรณีศึกษาแล้ว่า “การเอาแก่งออก” คือ การสกัดเอาบางส่วนของหินและแก่งที่อยู่ใกล้กับฝั่งของแม่น้ำหรืออยู่ท้องน้ำ หินที่โผล่ขึ้นมาจากน้ำในร่องการเดินเรือต้องถูกเอาออกไป สำหรับ “แก่งผาได” ในเขตประเทศไทย

จะมีการเอาออกเพียง 1.99 % ของแก่งหินทั้งหมดซึ่งเรียกว่า “การย้ายหิน” หรือ “ระเบิดออก”

มีการอ้างว่า ปลาจำนวนมากอาจจะตายจากการระเบิดและอาจจะทำลายที่อยู่อาศัยของปลาซึ่งไม่เป็นความจริงทั้งสองอย่าง  แท้จริงแล้ว การเพิ่มขึ้นของการช็อตปลาด้วยไฟฟ้าโดยชาวประมงท้องถิ่นต่างหากได้ทำลายปลาทั้งหมดในบริเวณนั้นซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการทำลาย   แต่มันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รายงานด้านสิ่งแวดล้อมบางชิ้นกล่าวว่า การปรับปรุงร่องน้ำจะทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วร่องน้ำเพื่อเดินเรือไม่ได้เป็นที่อยู่อาศัยของปลา  พวกมันอยู่อาศัยอยู่ในบริเวณร่องน้ำอีกด้านและแอ่งน้ำลึก ซึ่งอยู่ห่างจากบริเวณที่เป็นเครื่องจักรเดินเรือ  ไม่ได้มีการแตะต้องพื้นที่นั้นเลยในการปรับปรุงร่องน้ำ

กล่าวโดยสรุปแล้ว เราควรจะต้องหันหลังกลับไปมอง และสะท้อนเรื่องมุมมองการพัฒนาในครั้งนี้ ทุกการพัฒนาต้องได้รับการพิจารณาและคำนึงถึงการสร้างความสมดุลต่อเศรษฐกิจ และการเตรียมการด้านสิ่งแวดล้อมและประชาชน

แผนการปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการขนส่งคือแนวทางที่อยู่ในแผนพัฒนาการเดินเรือของMRCและการบูรณาการด้านการค้าขายและเป็นวาระภูมิภาคอาเซียน

จาก https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1355259/the-other-side-of-the-mekong-development-debate

More to explorer