แถลงการณ์แสดงจุดยืน: ความรับผิดชอบข้ามพรมแดนของไทยในประเทศเพื่อนบ้าน

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560

เราเป็นกลุ่มเครือข่ายชุมชน และภาคประชาสังคมในประเทศไทย ซึ่งมีความกังวลต่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการลงทุนของไทยในประเทศเพื่อนบ้าน สอดคล้องกับพันธกิจของไทยที่มีต่อหลักการชี้นำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (Guiding Principles on Business and Human Rights – UNGPs) และสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ เราเรียกร้องรัฐบาลและหน่วยงานของไทยให้กำหนดกลไกที่เข้มแข็ง เพื่อประกันให้เกิดความโปร่งใสและการปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม และให้เป็นแนวทางการดำเนินโครงการและธุรกิจในต่างประเทศของวิสาหกิจจากไทย

การลงทุนข้ามพรมแดนของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นโครงการซึ่งได้รับความสนับสนุนจากรัฐ และโครงการของเอกชน ส่งผลให้เกิดข้อกังวลเนื่องจากไม่มีการตรวจสอบผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลมาจากการลงทุนเหล่านั้น โครงการขนาดใหญ่ของไทยซึ่งลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านหลายโครงการ เชื่อมโยงกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เขื่อนบนแม่น้ำสาละวินของพม่า ไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลที่จังหวัดเกาะกงและโอดอร์เมียนเจย (อุดรมีชัย) กัมพูชา เหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าที่หงสา เขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนอื่น ๆ บนแม่น้ำโขงในสปป.ลาว

ที่ผ่านมาชุมชนในท้องถิ่นต่างเรียกร้องให้มีการตรวจสอบตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้โดยมีการฟ้องคดีกับศาลไทย และใช้สิทธิของตนตามกลไกทั้งแบบกึ่งทางการและกลไกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ศาล แนวโน้มสำคัญล่าสุดคือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้สอบสวนตามข้อร้องเรียนหลายประการเกี่ยวกับการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย และได้จัดทำขั้นตอนปฏิบัติเพื่อกำหนดความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน (extraterritorial human rights obligations – ETOs) อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับทั้งหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่จะต้องปฏิบัติตาม และเพื่อให้มีการตรวจสอบเมื่อเกิดการละเมิดขึ้น ผลจากการสอบสวนเป็นเหตุให้กสม.กำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลไทย เพื่อประกันให้มีการปฏิบัติตามหลักการชี้นำแห่งสหประชาชาติ คณะรัฐมนตรียอมรับตามข้อเสนอแนะเหล่านี้ตามที่ปรากฏในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เกี่ยวกับความรับผิดชอบข้ามพรมแดน (Extra-Territorial Obligations – ETOs)/ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (Business and Human Rights – B-HR) และเกี่ยวกับการลงทุนในโครงการพัฒนาข้ามพรมแดนของไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 หลังจากมีมติคณะรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศได้เรียกประชุมหลายหน่วยงานของรัฐ[1] และมีข้อเสนอแนะว่าให้กำหนดให้มีกลไกเพื่อประกันให้ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นไปตามนัยแห่งหลักการชี้นำแห่งสหประชาชาติ

เราจึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเหล่านี้ และให้กำหนดให้มีกลไกดังกล่าว รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ เพื่อประกันให้สามารถปฏิบัติตามซึ่งหลักการพื้นฐานสามประการ ของหลักการชี้นำแห่งสหประชาชาติ และพันธกรณีของรัฐบาลรวมทั้งหน่วยงานของรัฐที่จะต้องคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา เมื่อเกิดการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนเนื่องจากการลงทุนข้ามพรมแดน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลไทยจะต้อง:

  • แสดงความคาดหวังที่ชัดเจนว่าบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจจากไทย ต้องเคารพสิทธิมนุษยชนในระหว่างการดำเนินงานในต่างประเทศ และให้ดำเนินการเพื่อตรวจสอบ ป้องกัน สอบสวน ลงโทษ และเยียวยาเมื่อเกิดการปฏิบัติมิชอบและการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น
  • จัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักการชี้นำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับพันธกรณีนอกอาณาเขตและการลงทุนข้ามพรมแดน
  • ประกันว่าหน่วยงานธุรกิจของไทยกำหนดให้มีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ข้อกำหนดให้มีการตรวจสอบเมื่อมีการลงทุนข้ามพรมแดน และกำหนดให้มีขั้นตอนรับข้อร้องเรียนระดับบริษัท ซึ่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานสามารถใช้สิทธิในการร้องเรียนได้
  • ดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับพันธกรณีของหน่วยงานของรัฐ บริษัทซึ่งเป็นผู้รับเหมาจากหน่วยงานของรัฐซึ่งลงทุนในพื้นที่ที่มีสงครามความขัดแย้ง รวมทั้งกำหนดให้มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ก่อนจะอนุมัติให้มีการลงทุนนั้น
  • กำหนดให้มีหรือพัฒนากลไกรับคำร้องที่เข้าถึงได้และเป็นผลในระดับประเทศ รวมทั้งกลไกของศาลและกลไกอื่น ๆเพื่อการเยียวยาเมื่อเกิดการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนอันเป็นผลมาจากการดำเนินงานของบริษัทจากไทยในต่างประเทศ
  • ร่วมมือกับหน่วยงานพหุภาคี ทั้งอาเซียนและธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคีและสถาบันอื่น ๆ เพื่อประกันว่าหน่วยงานเหล่านี้ส่งเสริมให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติตามหลักการชี้นำแห่งสหประชาชาติในระหว่างการดำเนินงานของตน
  • ต้องมีหลักประกันว่า มาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับการปฏิบัติที่ไม่ด้อยไปกว่ามาตรฐานตามกฎหมายไทยในประเทศที่ไปลงทุนหรือประกอบกิจการ แม้ว่าประเทศนั้นๆจะไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นไปตามมาตรการดังกล่าวก็ตาม

เห็นชอบโดย

1 เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง The Network of Thai People in Eight Mekong Province

2 สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต Living River Siam Association

3 สมาคมสถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง Mekong Community Institute Association

4 สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ The Assembly of NGOs for the Protection and Conservation of Environment and Natural Resources

5 โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง Towards Ecological Recovery and Regional Alliance

6 เสมสิกขาลัย Spiritual Education Movement

7  ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา Karen Studies and Development Center

8 มูลนิธิชีวิตไท Local Act

9 กลุ่มจับตาพลังงาน Energy Watch

10 มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) Sustainable Agriculture Fiundation

11 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก Alternative Agriculture Network

12 กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน Land Watch Thai

13 สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา Khao Khu-ha Community Rights Association

14 เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) Network for Community Organization in 7 Mekong Province (E-san)

15 กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Greenpeace Southeast Asia

16 สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม Human Rights and Environment Promotion Association

17 เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคอีสาน E-san Natural Resources and Environment Network

18 กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา Eco-cultural Study Group

19 มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม. Enlaw.

20 มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน Community Resource Centre Foundation-CRC

21 เครือข่ายชุมชนจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำสาละวิน Salween River Community Network

22 กลุ่มรักษ์แม่น้ำโขง MyMekong

23 โปรเจกต์เสวนา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Sevana Project

24 ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น Local Community Rights Protection and Recovery Center

25 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม Cross Cultural Foundation

26 มูลนิธิบูรณะนิเวศ Ecological Alert and Recovery – Thailand (EARTH)

นักวิชาการ Academia:

1 ดร.สุริชัย หวันแก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2 ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

3 ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4 สฤณี อาชวนันทกุล

5 อชิชญา อ๊อตวงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 


[1]  กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

More to explorer