แถลงการณ์ร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมในโอกาสการประชุมสมัชชาไฟฟ้าพลังน้ำโลก 2562 กรุงปารีส ฝรั่งเศส

คำสัญญาที่ว่างเปล่าของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ:

เหตุใดเขื่อนจึงไม่สามารถทำให้การดำเนินงานตามความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติเป็นจริงได้

เราอยู่ในยุคฉุกเฉิน นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าเราเหลือเวลาน้อยเต็มที ในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ และคุ้มครองความมั่นคงของชีวิตในโลกใบนี้

ในการเผชิญหน้ากับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ เราจำเป็นต้องแสวงหาทางออกที่สร้างสรรค์ ซึ่งคุ้มครองทั้งธรรมชาติและเคารพสิทธิมนุษยชน ในการรับมือกับปัญหาท้าทายเหล่านี้ เราไม่สามารถทำตัวเป็นเพียงผู้รับชมอย่างเงียบ ๆ โดยปล่อยให้นักค้ากำไรในนามของบรรษัท นักการเงิน และพันธมิตรของพวกเขา ออกมาโฆษณาชวนเชื่อทางออกที่ผิด ๆ ในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ และการทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

ตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งในเรื่องนี้คือ การพยายามสร้างภาพของเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ว่าเป็นแหล่งพลังงานที่ “สะอาดและเขียว” ดังจะเห็นได้จากการประชุมสมัชชาไฟฟ้าพลังน้ำโลก 2562 ซึ่งจัดขึ้นที่ปารีส โดยกลุ่มล็อบบี้ของสมาคมไฟฟ้าพลังน้ำสากล (International Hydropower Association – IHA) และด้วยความร่วมมือกับองค์การยูเนสโก ซึ่งตั้งชื่อการประชุมครั้งนี้ว่า “การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

การสร้างภาพที่สวยสดงดงามของโครงการเขื่อนไฟฟ้า โดยมีจุดประสงค์เพียงเพื่อให้ได้เงินสนับสนุนผ่านกลไกต่าง ๆ รวมทั้ง ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) และ กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund) โดยเพิกเฉยต่อหายนะในระยะยาวด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ความเสียหายด้านเศรษฐกิจ และการส่งเสริมโครงการที่เต็มไปด้วยการทุจริต ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ขอให้เราพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้งเขื่อนขั้นบันไดขนาดเล็ก มักส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชนที่มีความอ่อนไหวอย่างมาก รวมทั้งชนพื้นเมือง เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำรวมทั้งอ่างเก็บน้ำและสายส่งไฟฟ้า เป็นโครงการที่ส่งผลให้ประชาชนประมาณ 40 ถึง 80 ล้านคนต้องอพยพโยกย้าย โดยไม่ได้รับค่าชดเชยหรือการฟื้นฟูอย่างเป็นธรรม

ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำยังมีมากมายยิ่งกว่าผลกระทบในระยะสั้น ผนังคอนกรีตยักษ์ของเขื่อนผลิตไฟฟ้า ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน้ำจืด การไหลของน้ำและตะกอน เป็นอุปสรรคต่อพันธุ์ปลาอพยพ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ ทำลายแหล่งอาศัยที่มีลักษณะโดดเด่น และทำลายความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิทธิของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งต้องพึ่งพาแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์และไหลอย่างเสรี

คาดการณ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า โครงการไฟฟ้าพลังน้ำส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนมากถึง 472 ล้านคน ซึ่งอาศัยอยู่ด้านท้ายน้ำของเขื่อน

  • การสร้างเขื่อน โดยเฉพาะตามพื้นที่ห่างไกลอย่างในป่าอเมซอน ที่ราบสูงทิเบต คองโก และไซบีเรีย มักนำไปสู่การสร้างถนนเข้าไปในพื้นที่อันห่างไกลเหล่านี้ มีการอพยพเข้ามาของคนจำนวนมาก เร่งให้เกิดการแย่งชิงเพื่อครอบครองที่ดินอย่างผิดกฎหมาย การตัดไม้ พื้นที่ป่าที่ลดลง และการทำเหมืองแร่ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การสังหารนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งกรณีของเบอร์ตา กาซีเรซแห่งฮอนดูรัส และดิลมา เฟอร์เรรีอาแห่งบราซิล สะท้อนให้เห็นความรุนแรงอย่างสุดโต่งในพื้นที่ชนบท ซึ่งมักเป็นผลโดยตรงจากบรรดาผู้สนับสนุนเขื่อน หรือเชื่อมโยงกับความขัดแย้งในเชิงสังคม-สิ่งแวดล้อม อันเป็นผลมาจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นมากมายในเขตเมือง และการลดลงของดัชนีชี้วัดทางสังคม มักเกิดขึ้นในเขตเมืองต่าง ๆ อย่างเช่น อัลทามิราแห่งบราซิล ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการสร้างเขื่อนยักษ์เบโลมองจ์
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าฝนเขตร้อน อ่างเก็บน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของก๊าซเรือนกระจก มีการปล่อยก๊าซมีเทนที่เกิดจากมนุษย์จำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบมากยิ่งกว่าคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ในแง่การทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน ในบางกรณี โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจก มากกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน เมื่อเปรียบเทียบกันในปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่เท่ากัน
  • เขื่อนทำลายป่าไม้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนใหญ่สุดของโลก และมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า นอกจากส่งผลกระทบต่อระบบอุทกวิทยาแล้ว เขื่อนยังสร้างความเสียหายต่อต้นไม้และพืชพรรณอื่น ๆ รวมทั้งพืชพรรณที่อยู่ไกลจากที่ตั้งเขื่อน ตามพื้นที่ชายแดน โครงการเขื่อนยังปูทางนำไปสู่อุตสาหกรรมขุดหาแร่ธาตุ รวมทั้งการทำเหมือง การตัดไม้ และการทำเกษตร ซึ่งยิ่งคุกคามต่อพื้นที่ป่ามากขึ้น
  • โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ มักทำลายแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ตัวอย่างล่าสุดสองประการได้แก่ เขื่อนอิลลิซูบนแม่น้ำไทกริสในตุรกี ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเมืองฮาซันคีฟซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีอายุถึง 10,000 ปี และการทำลายน้ำตก “ซีรี เคดาส” บนแม่น้ำเตเลสปีเรส ในเขตป่าอเมซอนของบราซิล ซึ่งเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และมีคุณค่าทางจิตวิญญาณอย่างสำคัญต่อชนพื้นเมืองเผ่ามุนดูรูกุ อาปิอาก้า และคายาบี  
  • ในหลายกรณี โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ กำลังส่งผลคุกคามหรือส่งผลกระทบแล้วต่อแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ดังกรณีเขื่อนกีเบ 3 ในเอธิโอเปีย ซึ่งส่งผลกระทบด้านท้ายน้ำอย่างรุนแรงในแม่น้ำโอโมและทะเลสาบทูร์คานาในเคนยา การทำลายสมบัติทางธรรมชาติของโลกสะท้อนให้เห็นจากข้อเท็จจริงที่ว่า อย่างน้อย 20% ของมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้รับผลกระทบหรือถูกคุกคามจากเขื่อน หรือโครงการเกี่ยวกับแหล่งน้ำอื่น ๆ เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา  

ที่เลวร้ายกว่านั้น โครงการเขื่อนยักษ์ยังเต็มไปด้วยปัญหาต้นทุนที่สูงเกินจริงในระยะยาว และความล่าช้าในการก่อสร้าง ส่งผลให้ประเทศที่ก่อสร้างจมปลักอยู่กับหนี้สาธารณะ ดังกรณีโครงการไฟฟ้าพลังน้ำโคคาโคดาซินแคลร์ของเอกวาดอร์ กลายเป็นอุปสรรคทำให้รัฐบาลไม่สามารถลงทุนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุทธศาสตร์พลังงานหมุนเวียนอย่างแท้จริง

ในเวลาเดียวกัน นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และลม ลดทอนความสามารถในการแข่งขันของไฟฟ้าพลังน้ำในฐานะเป็นแหล่งพลังงานราคาถูก อันที่จริง ไฟฟ้าพลังน้ำได้กลายเป็นทางเลือกการผลิตไฟฟ้าที่ไม่ใช่พลังงานฟอสซิลที่มีความพึ่งพาได้น้อยสุด โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศระดับโลก ส่งผลให้การติดตั้งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำทั่วโลกลดลง 50% ในแต่ละปี ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา

จากปัญหาพื้นฐานเหล่านี้ อะไรเป็นปัจจัยที่ยังคงเกื้อหนุนให้มีการโฆษณาชวนเชื่อโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก? เหตุใดผู้สนับสนุนการสร้างเขื่อนจึงมักได้รับประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ รวมทั้งโครงการคาร์บอนเครดิตและการอุดหนุนเงินทุนสำหรับโครงการ “พลังงานสะอาด?”

  • การให้ความสำคัญกับโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในการวางแผนนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยมักเป็นผลมาจากกระบวนการตัดสินใจแบบรวมศูนย์ ซึ่งขาดความโปร่งใส ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และขาดวิธีการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งสนับสนุนการประเมินอย่างรอบด้านต่อความต้องการด้านพลังงาน โดยคำนึงถึงต้นทุนและประโยชน์ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจด้วย 
  • การตัดสินใจทางการเมืองในการเลือก “ที่ตั้งที่เหมาะสม” สำหรับการสร้างเขื่อน มักตั้งยู่บนพื้นฐานจากการศึกษาในระดับลุ่มน้ำ โดยเป็นการศึกษาตามเงินทุนที่ได้รับจากบริษัทผู้สร้างเขื่อน ทั้งของรัฐและเอกชน โดยให้ความสำคัญกับศักยภาพการผลิตไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว และแทบไม่คำนึงถึงหรือไม่ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเลย ในบางกรณี แทบไม่มีการศึกษาในระดับลุ่มน้ำเลยด้วยซ้ำ
  • ในระดับโครงการ การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมักเกิดขึ้น และ/หรือได้รับทุนสนับสนุนจากผู้สร้างเขื่อน ซึ่งส่งผลให้มีการประเมินผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างเป็นระบบ ในขณะที่มีการให้ข้อมูลสนับสนุนประโยชน์ทางสังคม-เศรษฐกิจมากกว่าความเป็นจริง ทั้งนี้โดยมีพื้นฐานจากความใส่ใจต่อการสร้างผลกำไรมากสุดและความพยายามเสนอว่าโครงการนี้ “มีความเป็นไปได้”
  • ผู้สนับสนุนการสร้างเขื่อนมักไม่ให้ความสำคัญต่อความเสี่ยงอย่างมากของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระยะเวลาที่เกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง และการเกิดน้ำท่วมซึ่งเป็นไปตามคำเตือนของผู้ศึกษาด้านบรรยากาศ และเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก และมักเป็นเหตุให้โครงการเขื่อนเหล่านี้ไร้ประโยชน์ในช่วงเวลาดังกล่าว
  • มีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อองค์ความรู้ที่สำคัญด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า เขื่อนโดยเฉพาะเขื่อนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าฝนเขตร้อน เป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ เขื่อนเหล่านี้สามารถผลิตก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูงสุดในปีแรกหลังมีการเติมน้ำจนเต็มอ่าง กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความพยายามในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิยุคก่อนอุตสาหกรรม และเป็นเงื่อนไขของความตกลงกรุงปารีส
  • โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำมักเกิดขึ้นจากกระบวนการที่ขาดการปรึกษาหารือ และการให้ความยินยอมอย่างเสรี ล่วงหน้า และเกิดจากความเข้าใจ กรณีที่มีการทำโครงการในพื้นที่ของชุมชนพื้นเมือง และชุมชนดั้งเดิมอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 169 และปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) การขาดเงื่อนไขเช่นนี้ในมาตรการประเมินความยั่งยืนของไฟฟ้าพลังน้ำ (HSAP) ของสมาคมไฟฟ้าพลังน้ำสากล และ “เครื่องมือประเมินความยั่งยืน” อื่น ๆ จึงถือเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง
  • สำหรับบรรดาบรรษัทและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ในช่วงที่ใกล้การก่อสร้างแล้ว ปัญหาเรื้อรังอย่างหนึ่งคือการขาดการตรวจสอบอย่างรอบด้าน (due diligence) ในแง่การจัดการความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเป็นผลมาจากการไม่ขอความยินยอมอย่างเสรี ล่วงหน้า และเกิดจากความเข้าใจจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
  • การขาดการตรวจสอบผลกระทบด้านสังคม-สิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็งและเป็นอิสระ และการไม่ปฏิบัติตามมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบและชดเชยความเสียหาย ซึ่งต้องจัดทำตามกฎหมาย เพื่อส่งเสริมความมีธรรมาภิบาล รวมทั้งการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบ (benchmark) ก่อนการอนุมัติเงินกู้จากสถาบันการเงิน
  • เมื่ออุตสาหกรรมสร้างเขื่อนประสบปัญหาในการขอใบอนุญาตที่ผ่านหลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการที่มีความเสี่ยงสูงและขาดการวางแผนที่ดีพอ พวกเขามักใช้อภิสิทธิ์ของตนเอง เพื่อเข้าหาเจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูง และขอให้ใช้อิทธิพลกดดันการตัดสินใจที่สำคัญ ยุทธวิธีที่มักนำมาใช้อีกอย่างหนึ่งเป็นการแทรกแซงทางการเมืองต่อระบบยุติธรรม เพื่อขัดขวางการฟ้องคดีที่กล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีการใช้วิธีซื้อตัวมาเป็นพวก การข่มขู่ และการฟ้องคดีอาญาต่อขบวนการต่าง ๆ รวมทั้งการใช้กำลังอาวุธ เพื่อขัดขวางการรณรงค์และการประท้วงทางสังคมของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนที่ต้องการปกป้องสิทธิของตนเอง
  • ปัญหาทุจริตในวงกว้างของอุตสาหกรรมเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ สะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเช่นนี้มีบทบาทสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานอย่างไร้จริยธรรม กดขี่ และผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเดินหน้าสร้างเขื่อนที่ส่งผลกระทบต่อไปได้ ตัวอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้สามประการได้แก่ การเปิดโปงว่ามีการใช้เงินเพื่อทุจริต การเจรจาใต้โต๊ะ และการประมูลที่บกพร่องที่ใช้โดยบริษัท China Three Gorges Corporation กรณีการสอบสวนการทุจริต (Jato investigations) ของบราซิล ซึ่งเผยให้เห็นการติดสินบนอย่างกว้างขวางของบริษัทต่าง ๆ รวมทั้ง Eletrobras and Odebrecht ในการทำสัญญาสร้างเขื่อน และกรณีการสร้างเขื่อนยักษ์ Kirchner and Cerpernic ในอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติ เนื่องจากมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะของบริษัทผู้สร้างเขื่อนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ในขณะที่มีการเพิกเฉยอย่างสิ้นเชิงต่อผลกระทบต่อธารน้ำแข็งยักษ์เปอริโต้ โมริโน ซึ่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของยูเนสโก
  • อุตสาหกรรมเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำภายใต้การนำของสมาคมไฟฟ้าพลังน้ำสากล ต่อต้านการนำมาตรฐานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็งมาใช้ รวมทั้งแนวทางที่มีพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการเขื่อนโลก พวกเขากลับเลือกใช้ “แนวปฏิบัติที่ดีสุด” ซึ่งเป็นไปโดยสมัครใจและกำหนดขึ้นมาเองกับโครงการที่ได้รับการคัดเลือกจำนวนมาก ที่ผ่านมามีการนำมาตรการประเมินความยั่งยืนของไฟฟ้าพลังน้ำของสมาคมไฟฟ้าพลังน้ำสากลมาใช้และเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ไม่ถึง 1% ของโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่มีการวางแผนสร้างช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยยังไม่ต้องพูดถึงข้อจำกัดของมาตรการเหล่านี้ด้วยซ้ำ

ในขณะที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างภาพของ “ไฟฟ้าพลังน้ำที่ยั่งยืน” ในระดับโลก ผ่านยุทธศาสตร์การสื่อสารที่ทันสมัย หน่วยงานอุตสาหกรรมหลักยังคงเดินหน้าสร้างเขื่อนในแม่น้ำซึ่งมีความสำคัญมากสุดในแง่ความหลากหลายทางชีวภาพและสังคมต่อไป รวมทั้งแม่น้ำโขง, ซินจู, มาเดอิรา, เตเลสปิเรส, แยงซี, จินซาเจียง และบูรียา

ทั้งยังมีแผนที่ชัดเจนในการสร้างเขื่อนในแม่น้ำที่ยังไหลอย่างเสรีในโลก ทั้งในแม่น้ำคองโก, เลนา, อิระวดี, โวซา, นู-สาละวิน, อาร์เมอร์-เหยหลงเจียง, เซเลนกา, มาราฟีออน, จูรูเอนา, ทาปาโจซ์, เบนี, ชิลกา และคานาร์ลี เป็นต้น พอกันเสียที!

เสียงเรียกร้องให้มีปฏิบัติการ

องค์กรภาคประชาสังคมที่มีรายชื่อด้านท้ายเรียกร้องสมาชิกสมาคมไฟฟ้าพลังน้ำสากล รัฐบาล และสถาบันการเงินระหว่างประเทศให้ดำเนินงานตามมาตรการที่เร่งด่วนดังนี้

  • เปลี่ยนจุดเน้นการลงทุนและการสนับสนุนด้านการเงิน จากการมุ่งสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติม ไปเป็นการสนับสนุนประสิทธิภาพด้านพลังงานและทางเลือกพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง (แสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล และอาจรวมถึง โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก) โดยควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับโอกาสที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี การกระจายการผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการเข้าถึงสายส่งไฟฟ้าของชุมชนที่อยู่ห่างไกลและยังไม่มีไฟฟ้าใช้
  • ยกเลิกการให้แรงจูงใจทางการเงินกับการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติม ภายใต้กลไกการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งกองทุนภูมิอากาศสีเขียว และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดขึ้น (Nationally Determine Contribution: NDC) และในโครงการที่สนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (โดยอาจยกเว้นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก)
  • สนับสนุนทุนให้มีผู้ตรวจสอบอิสระ ทำการประเมินโครงการเขื่อนอื้อฉาวที่มีอยู่ และโครงการเขื่อนขั้นบันไดในระดับลุ่มน้ำ เพื่อสำรวจผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม จำแนกแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบ และประกันให้มีการชดเชยอย่างเป็นธรรมสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้โดยมีการปรึกษาหารือโดยตรงกับชุมชน กรณีที่พบว่ามาตรการเหล่านี้แพงเกินไปหรือไม่อาจปฏิบัติได้ ให้เลือกแนวทางปลดระวางโครงการเขื่อนเหล่านั้นเสีย
  • ประกันว่าโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ เดินเครื่องสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนระดับลุ่มน้ำ อย่างเช่น แผนการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นองค์รวม และแผนการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ เพื่อคุ้มครองกระบวนการด้านนิเวศวิทยาที่สำคัญ และสิทธิของชุมชนในท้องถิ่น โดยมีพื้นฐานมาจากแนวคิดและเครื่องมือการจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยืดหยุ่น
  • ประกันว่า นโยบายและโครงการพลังงานหมุนเวียนจะนำแนวปฏิบัติที่เข้มแข็งมาใช้ เพื่อสร้างหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 169 และหลักการชี้นำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ไม่ควรมีการอนุมัติโครงการพลังงานที่อาจส่งผลกระทบต่อดินแดนและความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองและชุมชนดั้งเดิมอื่น ๆ โดยยังไม่ได้รับความยินยอมอย่างเสรี ล่วงหน้า และเกิดจากความเข้าใจจากชุมชนเหล่านั้น และหากยังไม่สามารถจัดทำยุทธศาสตร์การออกแบบเพื่อการบริหารจัดการร่วมอย่างมีส่วนร่วมได้

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านการจัดทำยุทธศาสตร์และการพัฒนาพลังงาน มีบทบาทสำคัญต่อการคุ้มครองแม่น้ำที่ยังไหลอย่างเสรีในโลก ซึ่งมีคุณูปการสำคัญต่อความเข้มแข็งด้านสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์ และการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน

บริษัทพลังงานและรัฐบาลต้องหยุดการสร้างเขื่อนในแม่น้ำที่ยังไหลอย่างเสรีในโลก และให้ความสำคัญกับ  การปรับปรุงประสิทธิภาพและความยั่งยืนของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำและโครงการเขื่อนขั้นบันไดที่มีอยู่ และ การลงทุนด้านประสิทธิภาพของพลังงานและพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

นอกจากนั้น รัฐบาลต้องส่งเสริมอย่างเร่งด่วนให้เกิดมาตรการด้านกฎหมายแบบถาวรเพื่อคุ้มครองแม่น้ำที่ยังไหลอย่างเสรี รวมทั้งแม่น้ำที่ไหลข้ามพรมแดน ทั้งนี้โดยให้ความเคารพอย่างเหมาะสมต่อสิทธิในดินแดนของชนพื้นเมืองและชุมชนดั้งเดิมอื่น ๆ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องคุ้มครองแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้

กรุงปารีส 13 พฤษภาคม 2562

ลงนามโดย

African Law Foundation (AFRILAW) – (ไนจีเรีย) AIDA – (ละตินอเมริกา)

Alliance of Mother Nature’s Guardians – (ระดับสากล) Amazon Watch – (สหรัฐฯ)

Ambiente, Desarrollo y Capacitaci6n (ADC) – (ฮอนดูรัส) Ambodisakoana clinic – (มาดากัสการ์)

Amur Ecological Club Ulukitkan -(รัสเซีย) Amur Socio-ecological Union – (รัสเซีย)

Anti-Coal Citizen environmental watch in Pacific Russia – (รัสเซีย)

Arab Watch Regional Coalition – (ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ)

Asociaci6n Amigos de las Parques Nacionales – (อาร์เจนตินา) Associacao Alternativa Terrazul – (บราซิล)

Associacao Xaraies – (บราซิล)

Association “for Sustainable Human Development” – (อาร์เมเนีย) Association Activatica – (รัสเซียและเอสโตเนีย)

Association of Indigenous peoples of the North of the Khabarovsk region – (รัสเซีย)

Association of Young Researchers Bar – (เซอร์เบีย) Association Toxicologie Chimie – (ฝรั่งเศส)

Assosiation of Journalists-Environmentalists of the Russian Union of Journalists -(รัสเซีย)

Auburn University Museum of Natural History – (สหรัฐฯ) Aves Argentinas – (อาร์เจนตินา)

Baikal Expedition – (รัสเซีย)

Balkani Wildlife Society – (บัลแกเรีย) Balkanka Association, Sofia – (บัลแกเรีย) Banco de Bosques – (อาร์เจนตินา)

Bangladesh Poribrsh Andolon (BAPA) – (บังคลาเทศ)

Bank Information Center – (สหรัฐฯ)

Bank Information Center Europe – (ยุโรป)

Bargi Bandh Visrhapit Evam Parbhavit Sangh – (อินเดีย) Berliner Wassertisch – (เยอรมนี)

Bhanu Mahajan & Associates (BMA) – (อินเดีย) BIC Europe – (เนเธอร์แลนด์)

Biodiversity Center of Russian Academy of Science, Far East Branch – (รัสเซีย)

Biodiversity Conservation Center – (รัสเซีย) Bulgarian Biodiversity Foundation – (บัลแกเรีย) Burma River Network – (เมียนมา)

Buryat regional Union on the lake Baikal – (รัสเซีย) Cambodia Human Rights Task Forces (CHRTF) – (กัมพูชา) Cedib – (โบลิเวีย)

Centar za ?ivotnu sredinu/ Friends of the Earth Bosnia and Herzegovina – (บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา)

Centre for Coastal Environmental Conservation CCEC – (บังคลาเทศ) Centre for Environmental Just ice /FoE Sri Lanka – (ศรีลังกา)

Centre for Financial Accountability – (อินเดีย)

Centre for Research and Advocacy, Manipur – (อินเดีย) Centro Dom Jose Brandao de Castro – (บราซิล)

CHINA LATIN AMERICA SUSTAINABLE INVESTMENT INITATIVE – (ละตินอเมริกา)

Christian Aid – (สหราชอาณาจักร)

CLEAN (Coastal Livelihood and Environmental Action Network) – (บังคลาเทศ)

Coalition for Human Rights in Development – (ฟิลิปปินส์)

Coletivo Cidade Verde – (บราซิล)

Col6nia Z-16 de Pescadores e Aquicultores – (Sinop/MT) Community Resource Centre Foundation – (ไทย)

CONSEIL REGIONAL DES ORGANISATIONS NON GOUVERNEMENTALES OE OEVELOPPEMENT OR – (คองโก)

Consejo Regional Otomi del Alto Lerma – (เม็กซิโก) Conselho lndigenista Missionario – Cimi – (บราซิล) Conservaci6n Humana A.C. – (เม็กซิโก)

Corner House – (สหราชอาณาจักร)

Council of Elders of Shorsky Indigenous People – (รัสเซีย) CounterCurrent – GegenStroemung – (เยอรมนี)

CROT – (กัมพูชา)

CSIA-Nitassinan – (ฝรั่งเศส) Danube Circle – (ฮังการี)

Druzhina Okhrany Prirody Dzerzhinska (OOPO) – (รัสเซีย)

Earthrights International – (ไทย)

Ebo Forest Research Project – (Cameroon) Ecoa – (บราซิล)

EcoAlbania – (แอลเบเนีย)

Ecoforum of NGOs of Kazakhstan -(Kazakhstan) Ecohome – (เบลารุส)

Eco journalism association StPetersburg – (รัสเซีย) Ecological Association “Rzav-God- Save Rzav” – (เซอร์เบีย) Ecological center DRONT – (รัสเซีย)

Ecolur Informational NGO – (อาร์เมเนีย) Ecomed PU – (อาเซอร์ไบจาน)

Eco-Tl RAS International l Association of River Keepers – (มอลโดวาและยูเครน)

Ekoloski pokret Ibar – (เซอร์เบีย) Endorois Welfare Council – (เคนยา)

Environmental Association Avalon – (เซอร์เบีย)

“Environmental Citizens’ Association “Front 21/42” – (นอร์ทมาซิโดเนีย)

ERN France (European Rivers Network) – (ฝรั่งเศส) ESAF RDC – (สาธารณรัฐคองโก)

EuroNatur Foundation – (เยอรมนี) EURO PARC Federation – (เบลเยียม)

Eyge Environmental Education Center – (รัสเซีย) Facultad de Ciencias – (อุรุกวัย)

Federal University of Lavras – (บราซิล) Fonasc cbh – (บราซิล)

Fondation pour la Protection de la Biodiversite Marine (FoProBiM) – (เฮติ)

Forum for Policy Dialogue on Water Conflicts in India – (อินเดีย) Forum for Siang Dialogue (FSO) – (อินเดีย)

FORUM MUDANCAS CLIMATICAS E JUSTICA SOCIAL – (บราซิล)

Foundation for Ecological Education and Training (FEET) – (บัลแกเรีย)

Frente par uma Nova Polftica Energetica para o Brasil – (บราซิล) Friends of Lake Turkana (Foll) – (เคนยา)

Friends of the Earth US – (สหรัฐฯ)

Friends of the Siberian Forests – (รัสเซีย)

“Funcacion Proyectos Ambientales “PROA” – (ซานซัลวาดอร์ เด โฆคุย, อาร์เจนตินา)

Fundaci6n Ambiente y Recursos Naturales (FARN) – (อาร์เจนตินา) Fundacion Arcoiris par el respeto a la diversidad sexual – (เม็กซิโก) FUNOACION CAUCE : CULTURA AMBIENTAL-CAสหรัฐฯ ECOLOGISTA?

(อาร์เจนตินา)

Fundacion Chile Sustentable – (ชิลี) Fundaci6n Entropika – (โคลอมเบีย) Fundaci6n Esfera – (เวเนซุเอลา) Fundaci6n Flora y Fauna – (อาร์เจนตินา)

Fundaci6n Naturaleza para el Fututro – (อาร์เจนตินา) Fundaci6n Pulso Ambiental – (ชิลี)

GAIA Apatity environmental centre – (รัสเซีย) GECM, UNS-CONICET – (อาร์เจนตินา)

GITPA- (ฝรั่งเศส)

GM Optimist – (เซอร์เบีย)

Green Alternative – (จอร์เจีย) Green Earth Volunteers – (จีน) Green Home – (มอนเตเนโกร)

Greenpeace – (บราซิล /สากล) Greenpeace Russia – (รัสเซีย)

GroundWork, Friends of the Earth – (แอฟริกาใต้) Grupo Semente – (บราซิล)

Guild of Environmental Reporters of Sane! Petersburg – (รัสเซีย) Hamdab Dam Affected Commnities – (ซูดาน)

HimOhara Environment Research and Action Collective – (อินเดีย) Human Rights Forum – (อินเดีย)

Human Rights in China – (สหรัฐฯ)

Human Rights Movement “Bir Ouino-Kyrgyzstan” – (คีร์กีซสถาน) ICRA International – (ฝรั่งเศส)

Inclusive Development International – (สหรัฐฯ) Indigenous Environmental Network – (สหรัฐฯ)

Indigenous Perspectives – (อินเดีย)

Initiative to Keep Hasankeyf Alive – (ตุรกี-เคิร์ดีสสถาน) INPA- (บราซิล)

lnstituto Caracol – (บราซิล) lnstituto Centro de Vida – (บราซิล)

lnstituto de lnvestigaciones Antropologicas y Arqueologicas – UMSA Bolivia La Paz -(โบลิเวีย)

lnstituto Madeira Vivo-lMV – (บราซิล) lntercultural Resources – (อินเดีย) International Accountability Project – (สหรัฐฯ) International Campaign for Tibet – (เยอรมนี)

International Coalition to Protect the Polish Countryside (ICPPC) – (โปแลนด์)

International Rivers – (บราซิล /สากล) Jamaa Resource Initiatives – (เคนยา) James Cook University – (ออสเตรเลีย)

Justicia para el Media Ambiente y las Derechos Humanos, A.C. JADE.

A.C. – (เม็กซิโก) Kalpavriksh – (อินเดีย)

Kikandwa Environmental Association (KEA) – (ยูกันดา)

KRuHA – people’s coalition for the right to water – (อินโดนีเซีย)

Kuki Women’s Human Rights Organization – (เมียนมา) Living Rivers – (เมียนมา)

Lumiere Synergie pour le Oeveloppement – (เซเนกัล) Maiouri Nature Guyane – (Guyane Fran?aise France) Manthan Adhyayan Kendra – (อินเดีย)

Manushya Foundation – (ไทย) Mekong Watch – (ญี่ปุ่น)

Mesopotamia Ecology Movement – (ตุรกี-เคิร์ดีสสถาน) Mong Pan Youth Association – (เมียนมา)

Movimento dos trabalhadores e trabalhadoras do campo MTC – (บราซิล)

MST / MT – (บราซิล)

Museo de Historia Natural Universidad Nacional Mayor de San Marcos – (เปรู)

Museo Nacional de Historia Natural – La Paz – (โบลิเวีย) Museu Paraense Emilio Goeldi – (บราซิล)

Narmada Bachao Andolan – (อินเดีย)

National Oil Spill Detection and Response Agency – (ไนจีเรีย) Nature Iraq – (อิรัก)

NatureRights – (ฝรั่งเศส)

Nepal River Conservation Trust (NRCT) – (เนปาล) NGO BROC – (รัสเซีย)

NGO Eco – team – (มอนเตเนโกร) NGO ECOPANA – (โคโซโว)

NGO Forest. Nature and Environment of Aceh – (อินโดนีเซีย) NGO Forum on ADB – (ฟิลิปปินส์)

NGO Forum on Cambodia – (กัมพูชา) NGO Gamarjoba – (จอร์เจีย)

Northeastern Rural Development – (กัมพูชา) Notre Allaire a Taus – (ฝรั่งเศส)

Nucleo de Ciencias Humanas da Universidade Federal de Rond6nia – (บราซิล)

Ohrid SOS – (มาซิโดเนีย)

OLMA (Observat6rio Luciano Mendes de Almeida) – (บราซิล) OPERACAD AMAZONIA NATIVA- OPAN – (บราซิล)

Organizing Committee of the Party for the Protection of Animals (NGO) – (รัสเซีย)

Oyu Tolgoi Watch – (Mongolia) Pakistan Fisherfolk Forum – (Pakistan) Paryavaran Suraksha Samiii – (อินเดีย) PET Arrayanes – (อุรุกวัย)

Pin dos Perivallontiki – (Greece) Planete Amazone – (ฝรั่งเศส) PMSBV – (อินเดีย)

Pomory Association – (รัสเซีย)

Proceso de Comunidades Negras – (โคลอมเบีย) Projeto Saude e Alegria – (บราซิล)

RED.br (Reseau europeen pour la democratie au Bresil) – (ฝรั่งเศส)

Red! Tre Heritage Institute – (Slovenia) Reporter At Large – (อินเดีย)

River Basin Friends – (อินเดีย)

Rivers without Boundaries International Coalition – (นอร์ทยูเรเซีย)

Rivers without Boundaries Mongolia – (มองโกเลีย) Riverwatch – (ออสเตรีย)

Sakhalin Environment Watch – (รัสเซีย)

Salvadoran Center for Appropriate Technology- (ซัลวาดอร์) SAVE Rivers Network – (มาเลเซีย)

Save the Tigris Campaign – (อิรัก) Scientists4Mekong – (ออสเตรเลีย) SEA SHEPHERD FRANCE – (ฝรั่งเศส)

Service d’Action au Developpement communautaire (SaDEC) – (สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก)

Socio-ecological Union International – (รัสเซีย) SOS forets – (โกตดิวัวร์)

South Asia Network on Dams, Rivers & People – (อินเดีย)

State University of New York Environmental Science and Forestry (ESF) – (สหรัฐฯ)

Tajik Social and Ecogical Union – (ทาจิกิสถาน) Tapan Eco-club NGO – (อาร์เมเนีย)

Taraqqiet Centre – (ทาจิกิสถาน)

Tatarstan Socio-ecological Union – (รัสเซีย)

Thai Mekong People Network in 8 Provinces, Thailand – (ไทย) The Aathi Network – (อินเดีย)

The Altai Project – (สหรัฐฯ)

The Belize Institute of Environmental Law and Policy- (เบลีซ) The Belize Zoo and Tropical Education Center – (เบลีซ)

Three S Rivers Protection Network – (กัมพูชา)

TOKA: The Organization to Conserve the Albanian Alps- (แอลเบเนีย) Toxic Action network Central Asia – (สาธารณรัฐคีร์กีซ) ToxicsWatch Alliance – (อินเดีย)

Turkish Nature Research Society- (Tlirkiye) Ulu Foundation – (สหรัฐฯ)

Unisinos – (บราซิล)

Universidade do Vale do Rio dos Sinos – (บราซิล) Universidade Estadual de Mato Grosso do Sul – (บราซิล) Universidade Federal do Rio de Janeiro – (บราซิล) Universidade Federal do Rio Grande do Sul – (บราซิล) Upemba National Park – (สาธารณรัฐคองโก)

Urgewald e.V. – (เยอรมนี)

Vietnam River Network – (เวียดนาม)

Vindhyan Ecology and Natural History Foundation – (อินเดีย) WALHI west java – (อินโดนีเซีย)

Wetland university network – (เวียดนาม) World Heritage Watch- (เยอรมนี)

WWF Adria – (โครเอเชีย) WWF -Italy – (อิตาลี)

Xeni Gwet’in (Nemiah Valley Indian Band) – (แคนาดา)

Yamuna Jiye Abhiyaan – (อินเดีย)

Yayasan HAkA – (อินโดนีเซีย)

Yonge Nawe Environmental Action – (Swaziland) Young Research of Serbia – (เซอร์เบีย)

Zeleni Osijek – (โครเอเชีย)

More to explorer